วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


 

P-05
พาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนที่ละเลยกันมากที่สุดในการเลือกซื้ออุปกรณ์สำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เราแค่คำนึงถึงความเร็วของซีพียู เมนบอร์ด ขนาดหน่วยความจำ ขนาดฮาร์ดดิสก์ และลืมเรื่องเกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายคือผู้ที่จัดหา “เชื้อเพลิง”สำหรับส่วนต่าง ๆ ของพีซีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพดีและมีความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างพอเพียงสามารถเพิ่มความทนทานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ อีกทางหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานหลายครั้ง ซึ่งยากต่อการแก้ไข พาวเวอร์ซัพพลายที่ชำรุดหรือคุณภาพแย่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน พื้นที่บางส่วนของฮาร์ดดิสก์เสีย เกิดบลูสกรีนอันเลื่องชื่อ และอาจรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์รีเซตตัวเองหรือทำงานค้างเป็นครั้งคราว และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องอีกมากมาย

เราจะมาดูกันว่าเมื่อต้องเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายซักตัว เราต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง ไม่ใช่ดูแค่ว่าพาวเวอร์ซัพพลายที่เราจะซื้อนั้นจ่ายไฟได้กี่วัตต์

หน้าที่ของพาวเวอร์ซัพพลาย
คอมพิวเตอร์ต้องใช้ไฟฟ้าจึงจะทำงานได้ แต่การที่จะนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ ไปต่อกับปลักไฟโดยตรง จัดเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีตัวกลางคอยช่วยเหลือ ซึ่งก็คือพาวเวอร์ซัพพลายนั่นเอง จุดมุ่งหมายของพาวเวอร์ซัพพลายก็คือการแปลงกระแสไฟฟ้าจากปลักไฟ ไปเป็นโวลเตจที่ชิ้นส่วนต่างๆ ในคอมพิวเตอร์การใช้อยู่ ดังนั้นเมื่อคุณเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดัน 220 โวลต์ เข้าหาพาวเวอร์ซัพพลายแล้ว สิ่งที่คุณได้รับกลับมาก็คือชุดของแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานที่สามารถจัดการได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นพาวเวอร์ซัพพลายยังมีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอีกด้วย เนื่องจากกระแสตรงจะใช้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่ายกว่า
แรงดันไฟฟ้าสำคัญที่สุด 3 ระดับที่พาวเวอร์ซัพพลายสามารถสร้างออกมาให้เราใช้อยู่ก็คือ +3.3V, +5V และ +12V โดยที่เอาต์พุทแบบ +3.3V และ +5V มักใช้กับพวกชิปต่างๆ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เอาต์พุทแบบ +12V ใช้กับกลไกในฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟซีดีรอมหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ถ้าหากเรามีเอาต์พุทแค่สองแบบน่าจะสะดวกมากกว่า นั่นก็คืออันหนึ่งสำหรับส่วนที่เป็นกลไกและอีกส่วนหนึ่งสำหรับสวนที่เป็นชิป แต่ปัญหาก็คือเมื่อมีการเปิดตัวมาตรฐานใหม่ๆ ใดออกมา มาตรฐานนั้นมักต้องมีความเข้ากันได้กับเทคโนโลยีที่เดิมที่มีอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามเดี๋ยวนี้ชุดจ่ายไฟแบบ +12V ไม่ได้ใช้กับอุปกรณ์พวกที่เป็นกลไกเพียงอย่างเดียว บรรดาซีพียูรุ่นใหม่ รวมไปถึงพวกกราฟิกการ์ดที่มีความเร็วสูงก็มีความต้องการแรงดันไฟฟ้า +12V เพิ่มขึ้นมาด้วย
บริเวณด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายนอกจากจะมีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับสายไฟ AC แล้ว คุณยังจะเจอกับสวิทช์สำหรับใช้เลือกใช้ขนาดแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 110V และ 220V ด้วย สวิทช์ดังกล่าวมีอยู่เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลายในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้ไฟ 110V ได้ด้วย แต่ก็มีพาวเวอร์ซัพพลายอีกหลายรุ่นที่ไม่จำเป็นต้องมีสวิทช์ดังกล่าว เนื่องจากมันสามารถเลือกโวลเตจที่เหมาะสมได้เอง เทคโนโลยีแบบนี้ในบางครั้งเรียกว่า “wide input voltage” ก็มี
และเพื่อทำให้ตัวพาวเวอร์ซัพพลายเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวมันเองก็จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนบางอย่างด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วระบบระบายความร้อนของพาวเวอร์ซัพพลายก็จะประกอบไปด้วยฮีตซิงค์และพัดลม โดยพัดลมก็จะทำหน้าที่สร้างอากาศหมุนเวียนผ่านพาวเวอร์ซัพพลาย และในพาวเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยพัดลมจะทำงานโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก เช่นถ้ามีความร้อนเพิ่มขึ้นความเร็วรอบของพัดลมก็จะสูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดลงความเร็วรอบในการหมุนของพัดลงก็จะลดลงด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้ถูกพัฒนาออกมาเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนในการทำงาน
มาตรฐานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลายของพีซีมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันหลายแบบ ซึ่งรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันนี้มันมาจากเรื่องของมาตรฐานนั่นเอง นอกจากความต่างกันเรื่องขนาดและแบบของปลั๊กแล้ว ความต่างศักย์ที่จ่ายออกมายังต่างกันอีกด้วย ดังต่อไปนี้

มาตรฐาน AT
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT ใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ AT พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้จะจ่ายไฟด้วยความต่างศักย์สี่ค่าคือ +5V, +12V, -5V และ 12V และใช้หัวต่อแบบ 12 ขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแบ่งออกเป็น 6 ขา 2 ชุด ปัญหาก็คือ หัวต่อ 6 ขาทั้งสองชุดนี้สามารถเสียบเข้าไปในด้านใดก็ได้ของหัวต่อ 12 ขาบนเมนบอร์ด เพื่อป้องกันการผิดพลาด เราต้องจำให้ขึ้นใจว่าต้องติดตั้งหัวต่อแบบนี้โดยจัดวางในลักษณะให้สายสีดำอยู่ตรงกลางของหัวต่อแต่พาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT นั้นตกยุคไปได้หลายปีแล้ว

clip_image002
ตัวอย่างการต่อคอนเน็คเตอร์ของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT เข้ากับเมนบอร์ดแบบ AT

มาตรฐาน ATX
พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX จะใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ ATX โดยเหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน ATX นี้เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทมากที่สุดในเวลานี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวมาตรฐานของ BTX ออกมานานแล้วก็ตาม แต่มาตรฐานของ ATX นั้นก็ยังคงอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายเวอร์ชัน และเราก็ยังสามารถนำพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไปใส่ในเคสแบบ BTX ได้ รวมไปถืงเมนบอร์ดแบบ ATX ก็สามารถนำไปติดตั้งในเคสที่เป็น BTX ได้เช่นกัน เพราะทางผู้ผลิตเคสได้ทำช่องสำหรับยึดตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดแบบ ATX เอาไว้ด้วย
สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ก็จะมีหลายรูปแบบที่เราจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับความแตกต่างประการหลักสามประการระหว่างพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT และ ATX คือ มีสายไฟฟ้า +3.3V เพิ่มเติมอีกหนึ่งสาย, พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ในเวอร์ชันแรกๆ ใช้หัวต่อแบบ 20 ขา และพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีสายสำหรับเปิดปิด อันทำให้สามารถปิดพาวเวอร์ซัพพลายด้วยซอฟต์แวร์ได้ พาวเวอร์ซัพพลายของ ATX มีขนาดกว้าง, สูง, ลึกเท่ากับ 5.90 นิ้ว x 3.38 นิ้ว x 5.51 นิ้ว (150 มิลลิเมตร x 86 มิลลิเมตร x 140 มิลลิเมตร
clip_image004
คอนเน็คเตอร์หลักของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์บนเมนบอร์ด ATX
มาตรฐาน ATX12V v1.x
เนื่องจากซีพียูสมัยใหม่ต้องการพลังงานมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มหัวต่อให้กับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX กล่าวคือ หัวต่อ 12V แบบสี่ขาและหัวต่อเสริม +3.3V และ +5V หกขา โดยหัวต่อแบบหกขานี้แต่เดิมมีใช้กันอยู่ในเมนบอร์ด Pentium 4 รุ่นแรก (เมนบอร์ดที่ใช้ซ็อกเก็ต 423) เราใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยมีขนาดทางกายภาพเหมือนกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ATX12V v1.3 ยังได้มีการนำหัวต่อ Serial ATA ซึ่งมี 15 ขาเข้ามาใช้
clip_image006
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขา ATX12V บนเมนบอร์ด
clip_image008
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขาของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x และคอนเน็คเตอร์ 8 ขาของ EPS ATX 12V
clip_image010
หัวต่อเสริมหกขาบนพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x
clip_image012
หัวต่อ 15 ขาเพื่อจ่ายไฟ Serial ATA ที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.3
มาตรฐาน ATX12V v2.x
ATX12V รุ่นใหม่นี้เปลี่ยนหัวต่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดจาก 20 ขาเป็น 24 ขา และยังยกเลิกหัวต่อเสริม 6 ขาเนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป รวมทั้งปรับการใช้งานหัวต่อจ่ายไฟ Serial ATA อย่างไรก็ดี มีเมนบอร์ดATX12V v2.x บางรุ่นที่ยังคงเปิดโอกาสให้เราใช้กับพาวเวอร์ซัพพลาย 20 ขาดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v2.x กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยผ่านทางตัวแปลง ขนาดทางกายภาพของ ATX12V v2.X เหมือนกันกับพาวเวอร์ซัพพลาย ATX ดั้งเดิมและยังคงรักษาหัวต่อ 12V 4 ขาเพิ่มเติมที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.x
clip_image014
คอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ 24 ขา และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ EPS 12V บนเมนบอร์ด
clip_image016 ตัวแปลงจาก 24 ขาไปเป็น 20 ขา
มาตรฐานแบบอื่นๆ
EPS12V: SSI (Server System Infrastructure) เป็นผู้กำหนดรูปทรงนี้สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายเซิร์ฟเวอร์ระดับล่าง พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้ใช้หัวต่อบนเมนบอร์ดแบบเดียวกับ ATX12V v2.x และมีหัวต่อ 12V 8 ขาแบบใหม่ EPS12V ยังคงมีขนาดเหมือนกับมาตรฐาน ATX ดั้งเดิม และใช้กับเมนบอร์ดแบบ EPS12V เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีหัวต่อเพิ่มขึ้นมาเพียงอันเดียว ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายหลายรายจึงผลิตรุ่นที่เป็นทั้ง ATX12V v2.x และ EPS12V ในเวลาเดียวกัน
clip_image018 หัวต่อ EPS12V
นอกจากรูปทรงหลักของพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องเดสก์ทอปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปทรงสำหรับเครื่องพีซีขนาดเล็กเช่นกัน
clip_image020 พาวเวอร์ซัพพลาย LFX12V


การระบายความร้อน
ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า พาวเวอร์ซัพพลายมีบทบาทสำคัญในกระบวนระบายความร้อนของพีซี โดยหน้าที่ที่แน่นอนของมันคือนำอากาศร้อนออกไปจากเคส การไหลของอากาศภายในพีซีจะเริ่มจากอากาศเย็นไหลผ่านเข้าไปทางช่องด้านหน้าของเคส ต่อจากนั้น อากาศถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยอุปกรณ์ดังเช่นซีพียู การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ ชิปเซต ฯลฯ เนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น มันจึงลอยขึ้นไปด้านบนตามหลักธรรมชาติทำให้อากาศร้อนลอยตัวไปถูกกักอยู่ตรงส่วนบนสุดของเคส พัดลมทำความเย็นของพาวเวอร์ซัพพลายจะทำงานเป็นพัดลมระบายอากาศ ดึงลมร้อนออกจากบริเวณนี้และเป่าออกไปจากพีซี
ในยุคหนึ่งพาวเวอร์ซัพพลายที่มีราคาแพงจะมีพัดลมระบายอากาศสองหรือสามตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเปลี่ยนมาใช้พัดลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนเพื่อลดเสียงรบกวนในการทำงานไปด้วยในตัว และเคสส่วนมากก็จะมีพื้นที่ว่างพอควรสำหรับติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมที่ด้านหลัง
อย่างไรก็ตามเคสคอมพิวเตอร์บางรุ่นก็ไม่ได้ให้เราทำการติดตั้งพาวเวอร์ซัพพลายไว้ทางด้านบนของตัวเคส แต่จะให้พาวเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคสแทน หรือถ้าเป็นเคสที่วางแบบแนวนอนพาวเวอร์ซัพพลายก็จะอยู่ด้านหนึ่ง เมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะอยู่อีกด้านหนึ่ง พาวเวอร์ซัพพลายก็ยังมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากเคสอยู่ดี เพราะอย่างน้อยๆ มันก็นำความร้อนจากตัวมันเองออกสู่นอกเคส ไม่ทิ้งความร้อนสะสมไว้ภายในตัวเครื่องเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ
clip_image022 การไหลของอากาศภายในเคสของพีซี
ปัญหาของพัดลมรวมไปถึงพัดลมพิเศษของพาวเวอร์ซัพพลายคือเสียง ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของเราได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเสียง ผู้ผลิตบางรายจึงได้ใส่คุณสมบัติเพิ่มเติมเข้าไปในพาวเวอร์ซัพพลาย เช่น ความเร็วการหมุนของพัดลมขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของพาวเวอร์ซัพพลาย เมื่อต้องการพลังงานน้อย เสียงก็จะเบาลง อย่างไรก็ดี มีพาวเวอร์ซัพพลายบางแบบที่เราต้องกำหนดความเร็วของพัดลมระบายอากาศเองผ่านทางสวิตช์ด้านหลัง ไม่ได้กระทำแบบอัตโนมัติ

ความมีเสถียรภาพ
พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพสูงจะต้องรับประกันว่าสามารถจ่ายไฟที่มีค่าความต่างศักย์คงที่โดยไม่คำนึงถึงความไม่สมบูรณ์หรือโอเวอร์โหลดที่เกิดขึ้นมาจากระบบไฟฟ้าหรือจากการใช้ไฟฟ้าที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความจำเป็นที่ความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมาต้องคงที่ โดยอุปกรณ์บางอย่างของคอมพิวเตอร์บางอย่างโดยเฉพาะซีพียูมีความไวต่อการขึ้น ๆ ลง ๆ ของความต่างศักย์มาก อาการขึ้น ๆ ลง ๆ ทันทีทันใดอาจทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานหรือทำให้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์บางอย่างไหม้ อย่างไรก็ดี คอมพิวเตอร์สามารถทนต่อการขึ้น ๆ ลง ๆ ของความต่างศักย์บางอย่างได้โดยไม่ทำให้ส่วนประกอบเสียหายไป ในตารางที่ 1 แสดงความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมา กับค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่คอมพิวเตอร์สามารถรองรับได้

ความต่างศักย์ที่ออกมาความเบี่ยงเบนค่าต่ำสุดค่าสูงสุด
+5VDC+/-5%+4.75V+5.25V
+12VDC+/-5%+11.40V+12.60V
-5VDC+/-10%-4.5V-5.5V
-12VDC+/-10%-10.8V-13.2V
+3.3VDC+/-5%+3.14V+3.47V
+5V SB+/-5%+4.75V+5.25V

ตารางที่ 1 ความต่างศักย์ที่พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายออกมา กับค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่คอมพิวเตอร์สามารถรองรับได้

ความสามารถในการจ่ายพลังงาน
เราจำแนกประเภทและการทำตลาดของพาวเวอร์ซัพพลายตามพลังงานสูงสุดที่สามารถจ่ายออกมาได้ในหน่วยวัตต์ พลังงานคือความจุของพลังงานไฟฟ้าที่จะถูกแปลงให้เป็นพลังงานอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปกติจะเป็นพลังงานความร้อน, พลังงานกล, พนังงานเคมี ฯลฯ โดยทั่วไป ความสามารถในจ่ายพลังงานของพาวเวอร์ซัพพลายยิ่งมากขึ้น เราก็ยิ่งสามารถติดตั้งบอร์ดและอุปกรณ์ข้างเคียงบนคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นเช่นกัน
แต่ว่า ความจุของพาวเวอร์ซัพพลายที่จริงแล้วคืออะไร? ความหมายของพาวเวอร์ซัพพลาย “300 วัตต์” “500 วัตต์” หรือ “1000 วัตต์” คืออะไร
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พาวเวอร์ซัพพลายจะทำตลาดตามพลังงานสูงสุดที่ผลิตได้ออกมา คำว่าพาวเวอร์ซัพพลาย 300 วัตต์ หมายความว่า มันสามารถจัดหาพลังงานสูงสุดไปยังคอมพิวเตอร์ที่ 300 วัตต์ ค่ากำลังสูงสุดของพลังงานที่จัดหาให้อาจจะคำนวณง่าย ๆ ได้โดยการคูณความต่างศักย์ของเอาต์พุตแต่ละอย่างแล้วนำผลที่ได้มาบวกเข้าด้วยกัน เช่น ตารางข้างล่างแสดงวิธีพลังงานสูงสุดที่ผลิตขึ้นมาโดยพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT 300W โดยพลังงานที่ผลิตออกมาเป็นค่าความต่างศักย์ลบจะถูกบวกไปที่ผลรวมทั้งหมด ไม่ใช่นำไปลบ จะเห็นว่าพาวเวอร์ซัพพลาย AT นี้สามารถผลิตพลังงานทั้งหมดมากกว่า 300W เล็กน้อย ดูตารางที่ 2

ความต่างศักย์เอาต์พุตกระแสไฟฟ้าพลังงานสูงสุด
+12V12A12 x 12 = 144W
+5V30A5 x 30 = 150W
-5V0.3A5 x 0.3 = 1.5W
-12V1A12 x 1 = 12W
ความจุทั้งหมดของพาวเวอร์ซัพพลาย144 + 150 + 1.5 + 12 = 307.5W

ตารางที่ 2 ตัวอย่างการคำนวณจำนวนวัตต์ของพาวเวอร์ซัพพลายมาตรฐาน AT
การคำนวณความจุสูงสุดของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX มีความแตกต่างเล็กน้อยอันเนื่องมาจากแนวความคิดเรื่องพลังงานร่วมกัน พาวเวอร์ซัพพลาย ATX จะรวมเอาต์พุต +3.3V กับ +5V เพื่อให้ค่าพลังงานใหม่ซึ่งก็คือพลังงานร่วมกัน อันหมายความว่า ค่าที่นำมาพิจารณาเมื่อทำการคำนวณกำลังสุดของพาวเวอร์ซัพพลายคือ ค่าของพลังงานร่วม ไม่ได้เป็นค่าเดี่ยวของเอาต์พุตสองอย่างนี้
ในตารางที่ 3 เรารวมค่ากระแสและพลังงานที่เกี่ยวข้องของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX 300W เข้าด้วยกัน จะเห็นว่า ค่าของพลังงานร่วมกันคือ 150W (+3.3V/+5V) ในการคำนวณกำลังสูงสุดของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX เราทำการบวกค่าพลังงานของเอาต์พุต +12V เข้ากับพลังงานร่วมกัน (+3,3V/5V), พลังงานของเอาต์พุต -12V และพลังงานของ +5V Standby ผลที่ได้เป็นกำลังสูงสุดที่สามารถจ่ายไปให้คอมพิวเตอร์ได้

ความต่างศักย์เอาต์พุตกระแสไฟฟ้าพลังงานสูงสุด
+12V8A12 x 8 = 96W
+5V30A5 x 30 = 150W
+3.3V14A3.3 x 14 = 46.2W
+3.3V/+5V150W
-5V0.5A5 x 0.5 = 2.5W
-12V0.5A12 x 0.5 = 6W
Standby1.5A5 x 1.5 = 7.5W
ความจุทั้งหมดของพาวเวอร์ซัพพลาย96+ 150 +2.5 + 6 + 7.5 = 262W

ตารางที่ 3 ตัวอย่างการคำนวณค่าการจ่ายไฟของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX 300 วัตต์
ตัวอย่างในตารางที่ 3 นี้เราจะเห็นว่า พาวเวอร์ซัพพลายนี้อันที่จริงเป็นพาวเวอร์ซัพพลาย 262W ไม่ใช่ 300W ดังที่ได้โฆษณาไว้ โชคไม่ดีที่นี่คือเรื่องจริงที่เราพบเห็นกันทั่วไปว่าผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายแจ้งบอกค่าพลังงานสูงสุดอย่างไม่ถูกต้อง วิธีที่ง่ายที่สุดในการค้นหาค่าพลังงานสูงสุดที่แท้จริงที่พาวเวอร์ซัพพลายสามารถทำได้คือ การคำนวณตามสูตรที่ได้กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ดี ค่าที่ได้จากการคำนวณไม่ได้หมายความว่า พาวเวอร์ซัพพลายจะสามารถให้พลังงานตามที่คำนวณไว้ได้ มันเป็นเพียงแค่ตัวเลขของพาวเวอร์ซัพพลาย (ตามที่ติดป้ายบอก)เท่านั้น เราต้องมีการทดสอบอย่างทั่วถึงในห้องทดลองโดยการใช้โหลดพลังงานเต็มที่เพื่อทดสอบดูว่า พาวเวอร์ซัพพลายสามารถจ่ายค่าตัวเลขนี้ได้จริง

ประสิทธิภาพของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟแสดงจำนวนเปอร์เซ็นต์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ถูกแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงอย่างมีประสิทธิภาพ มันคือความแตกต่างระหว่างการใช้พลังงานที่แหล่งจ่ายไฟส่งออกมากับส่วนที่ถูกดูดซับโดยระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ
ถ้าแหล่งจ่ายไฟจ่ายเอาต์พุตออกมา 150W และใช้พลังงาน 200W จากระบบไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน เราสามารถสรุปได้ว่า แหล่งจ่ายไฟนี้มีประสิทธิภาพ 75% ความแตกต่าง จำนวน 50W ในตัวอย่างนี้ ถูกแพร่กระจายในรูปของความร้อน อันหมายความว่า แหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพสูงกว่า จะก่อให้เกิดความร้อนภายในเคสน้อยกว่าแหล่งจ่ายไฟที่มีดัชนีประสิทธิภาพต่ำกว่า
แหล่งจ่ายไฟอาจเป็นหนึ่งในหลายส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดความร้อนภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แหล่งจ่ายไฟที่ราคาแพงกว่าซึ่งมีระดับประสิทธิภาพสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความร้อนน้อยกว่าที่รุ่นที่มีราคาถูกกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงตอนประกอบพีซีคือ ความร้อนสูง ดังนั้นเราควรนำข้อมูลข่าวสารนี้มาพิจารณา

ถอดรหัส Power Factor Correction อีกอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับพาวเวอร์ซัพพลาย
Power Factor Correction (PFC) หรือการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังเป็นคำศัพท์ที่บริษัทผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายคิดค้นออกมา อย่างไรก็ดี คำศัพท์นี้ก่อให้เกิดความสับสนพอสมควรเพราะผู้ผลิตแต่ละรายให้คำนิยามของคำศัพท์นี้แตกต่างกันไป ซึ่งมีการพูดถึงการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังมากมาย แต่คำอธิบายส่วนใหญ่ก่อให้เกิดความสับสนหรือไม่ตรงประเด็น รายละเอียดต่อไปนี้จะสรุปนิยามของการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังเพื่อความชัดเจนว่าจริง ๆ แล้ว PFC คืออะไร

นิยามของ PFC
ก่อนอื่น เรามาดูนิยามของ PFC ของผู้ผลิตแต่ละรายกันก่อน เริ่มด้วย Zalman ที่ให้คำนิยามของ PFC ไว้ดังนี้“ระบบแหล่งจ่ายไฟที่มีเครื่องปรับแรงดันแบบสวิตชิ่งจะมีวงจรแปลงไฟที่ทำหน้าที่แปลงไฟอินพุตกระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรงเพื่อป้อนไฟให้วงจรหลัก วงจรแปลงไฟนี้ประกอบด้วยตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ปรับไฟกระแสตรงให้มีความราบเรียบมากขึ้นและช่วยให้วงจรรักษาระดับแรงดันสามารถทำงานได้ตามต้องการ อย่างไรก็ดี ประจุยอด (peak charge) ของตัวเก็บประจุจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อต้องการค่าความจุมากขึ้น ซึ่งค่านี้ก่อให้เกิดกระแสไฟกระชากแบบไม่เป็นเชิงเส้นแก่วงจรหลัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความบิดเบือนต่อแรงดันไฟฟ้า, ความถี่ฮาร์มอนิก (harmonic คือส่วนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน์ของสัญญาณหรือปริมาณเป็นคาบใด ๆ ซึ่งมีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่หลักมูล เช่น ไฟฟ้าในประเทศไทยมีความถี่หลักมูลเท่ากับ 50 Hz ผลของฮาร์มอนิกเมื่อรวมกันกับสัญญาณความถี่หลักมูลทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นมีขนาดและรูปสัญญาณเพี้ยนไป และทำให้ค่า power factor ลดลง) ปัจจุบัน ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลสำหรับควบคุมฮาร์มอนิก (IEC100-3-2) และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ไฟอย่างน้อย 70 วัตต์ในประเทศแถบยุโรปต้องมีการนำ PFC มาใช้นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2001”
สำหรับ Enermax ได้ให้นิยามไว้ดังนี้ “ค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 95 เปอร์เซ็นต์ที่แรงดันกระแสสลับ 230 โวลต์ขณะมีการใช้งานอย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2001 ประเทศในสหภาพยุโรปต้องมีการนำมาตรฐาน EN61000-3-2 (ฮาร์มอนิกของสายไฟ) และ EN61000-3-3 (การกระเพื่อมของสัญญาณในสายไฟ) มาใช้ และสินค้าทุกชิ้นที่ส่งมายังประเทศในสหภาพยุโรปหรือวางตลาดในประเทศในสหภาพยุโรปต้องทำตามมาตรฐานทั้งสองตัวนี้”
ซึ่งดูแล้วยิ่งสับสน ดังนั้นเรามาสร้างความชัดเจนกัน


การแก้ไข Power Factor
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประกอบด้วยมอเตอร์ หรือหม้อแปลงดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย จะมีการใช้พลังงานสองแบบคือ active (วัดค่าเป็น KWh) และ reactive (วัดค่าเป็น kVAh) โดยพลังงาน active คือพลังงานที่ผลิตงานจริง เช่น การหมุนของแกนมอเตอร์ ส่วนพลังงาน reactive (ยังเรียกว่าเป็นพลังงานแม่เหล็ก) คือพลังงานที่ต้องการเพื่อผลิตสนามแม่เหล็กเพื่อช่วยให้การทำงานจริงทำได้บนหม้อแปลง, มอเตอร์ ฯลฯ ผลรวมของเวคเตอร์ของพลังงาน reactive และพลังงานจริงเรียกว่าพลังงาน apparent และวัดค่าออกมาเป็น kVAh สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรม การไฟฟ้าวัดและคิดค่าการใช้โดยยึดถือพลังงาน apparent แต่สำหรับลูกค้าที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า พลังงานที่วัดและคิดค่าคือพลังงาน active
ปัญหาคือ แม้ว่าจะมีความจำเป็นต่อมอเตอร์และหม้อแปลง ส่วนพลังงาน Reactive “ครอบครองพื้นที่ว่าง”บนระบบซึ่งพลังงาน active สามารถนำไปใช้ได้มากกว่า
Power factor คืออัตราส่วนระหว่างพลังงาน active และพลังงาน apparent ของวงจร (power factor = พลังงาน active หารด้วยพลังงาน apparent) อัตราส่วนนี้สามารถแปรเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0 (0%) ถึง 1 (100%) ค่าที่ใกล้ 1 มากที่สุดแสดงถึงข้อดีที่มากกว่าเพราะมันหมายความว่า วงจรดูดซับพลังงาน reactive น้อยกว่า
เพื่อที่ว่าจะทำให้เกิดการใช้พลังงาน Reactive ให้พอเหมาะ หลายประเทศได้จัดตั้งกฎหมายของจำนวนเปอร์เซ็นต์พลังงาน reactive สูงสุดที่ลูกค้าสามารถใช้ได้ ถ้าลูกค้ามี power factor ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้โดยทางรัฐบาล (นั่นคือพลังงาน reactive สูงกว่าขีดจำกัดที่ตั้งไว้ตามกฎหมาย) ลูกค้าจะต้องเสียค่าปรับ
แนวคิดเรื่องค่าปรับมีอยู่เพื่อบังคับให้อุตสาหกรรมปรับปรุง Power factor ได้ดีขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาใช้พลังงาน reactive มากขึ้น เนื่องจากพลังงานประเภทนี้จะโอเวอร์โหลดระบบด้วยประเภทของพลังงานที่ใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มันจำเป็นในการทำให้มอเตอร์และหม้อแปลงสามารถปฏิบัติการได้
โดยทั่วไป การปรับปรุงนี้ประกอบด้วยการตรวจสอบว่า มีมอเตอร์หรือหม้อแปลงที่ทำงาน “เปล่า ๆ” หรือมีขนาดใหญ่เกินไป โดยพลังงาน reactive มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการเมื่อมีโหลดสูงสุดและเกือบมีความจำเป็นเช่นเดียวกันสำหรับปฏิบัติการเมื่อมีโหลดต่ำ กล่าวคือ ถ้ามอเตอร์ทำงานเมื่อมีโหลดต่ำ มันจะใช้พลังงาน active น้อยลง แต่ปริมาณการใช้พลังงาน reactive ยังคงเท่ากับเมื่อมันทำงานเมื่อมีโหลดสูงสุด ทำให้เกิด Power factor ที่ต่ำ
มีหลายประเทศเริ่มต้นออกกฎหมายซึ่งบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคทำตามมาตรฐาน Power factor เช่นเดียวกับที่ได้เคยเรียกร้องให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ปฏิบัติตาม เมื่อเดือนมกราคม ปี 2001 สหภาพยุโรปเริ่มต้นต้องการให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่ขายในประเทศที่มีการใช้พลังงานเกิน 70 วัตต์จะต้องมีวงจรแก้ไข Power factor เพื่อที่ว่าจะใช้พลังงาน reactive ของระบบไฟฟ้าน้อยกว่าที่เป็นไปได้ มีการคาดหมายกันจากประเทศอื่น ๆ เช่นกันว่า พวกเขาจะเริ่มต้นใช้มาตรการเหมือนกัน
ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายที่ต้องการขายในยุโรปในปี 2001 จะต้องเริ่มต้นผลิตแหล่งจ่ายไฟที่มีวงจรแก้ไข Power factor หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่า PFC (Power Factor Correction)
วงจร PFC มีสองแบบคือ passive และ active โดย passive PFC ใช้ส่วนประกอบซึ่งไม่ต้องมีการจ่ายไฟให้ (เช่นคอยล์แกนเฟอร์ไรต์) และมีค่า Power factor อยู่ระหว่าง 0.60 (60%) และ 0.80 (80%) ส่วน active PFC จะมีการออกแบบเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนกว่า หรืออาจจะใช้ไอซีสำเร็จรูป ทรานซิสเตอร์และไดโอด ตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายออกแบบไว้ มันสามารถก่อให้เกิด Power factor เกิน 0.95 (95%) เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคจ่ายไฟแบบทั่วๆ ไปที่ไม่มีวงจร PFC เลยจะมีค่า Power factor ต่ำกว่า 0.60 (60%)
PFC ไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและเป็นเรื่องเข้าใจผิดที่เราพบได้ในตลาดมากขึ้น วงจรนี้ไม่ได้ทำให้คอมพิวเตอร์ใช้ไฟฟ้าน้อยลงดังที่ได้อธิบายแล้ว หน้าที่ของ PFC คือป้องกันแหล่งจ่ายไฟจากการใช้พลังงาน reactive จากระบบไฟฟ้ามากขึ้น เป็นผลให้ใช้ได้พอเหมาะในระบบไฟฟ้า (อนุญาตให้การไฟฟ้าจัดหาพลังงาน active ได้มากขึ้น) การเสริมวงจรแบบนี้กระทำไปเพื่อทำตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึงถึงการบริโภคไฟฟ้า (โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป) ในขณะที่การยอมรับกฎหมายเดียวกันมีแนวโน้มเกิดขึ้นในประเทศอื่น ผู้ผลิตกำลังเตรียมการในการผลิตแหล่งจ่ายไฟที่ประกอบด้วยวงจรแบบนี้
ว่ากันตามตรง การมีหรือไม่มี PFC ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้บริโภคทั่วไป เอาเป็นว่าแหล่งจ่ายไฟกับวงจรแบบนี้ค่อนข้างเป็นความเคลื่อนไหวทางการตลาดของผู้ผลิตแหล่งจ่ายไฟที่ชักชวนให้ลูกค้าซื้อแหล่งจ่ายไฟที่แพงกว่า ทั้งที่จริงแล้ว แหล่งจ่ายไฟแบบนี้ให้ประโยชน์แก่การไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เกิดความจำเป็นในการจัดหาพลังงาน reactive ซึ่งโอเวอร์โหลดระบบอยู่น้อยลง แต่สำหรับผู้บริโภคทั่วไปแล้ว ไม่มีความแตกต่าง เพราะว่า อย่างน้อยที่สุดในเวลานี้ เราไม่ได้ถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มในกรณีที่ใช้พลังงาน reactive เกินค่าที่ตั้งไว้ดังที่เกิดขึ้นกับลูกค้าอุตสาหกรรม
แต่ถ้ามองด้วยความเชื่อมโยงกันในโลกปัจจุบันไม่ว่าการลดการใช้พลังงานหรือการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมันก็เท่ากับว่าเราใช้ทรัพยากรที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่า และถ้าอธิบายกับแบบละเอียดจริงๆ เรื่องนี้มันสามารถจะโยงใยไปถึงเรื่องการลดภาวะโลกร้อนได้เลยทีเดียว
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนก็ยังอาจจะคิดว่าการที่พาวเวอร์ซัพพลายมีค่า Power Factor เข้าใกล้ 1 มากๆ นั้นจะช่วยให้ลดการใช้ไฟฟ้าหมายถึงลดค่าไฟด้วยใช้หรือไม่ คำตอบคือใช่ แต่มันนิดเดียว ตัวสำคัญจริงๆ ที่จะทำให้การใช้ไฟอย่างประหยัดและคุ้มค่าก็คือ ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟของพาวเวอร์ซัพพลาย จำเรื่องที่เราบอกไปว่าพาวเวอร์ซัพลายส่วนใหญ่จ่ายไฟได้ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ได้ไหม นี่แหละเจ้าสิ่งนี้แหละคือประเด็น
www.80plus.org ชมรมพาวเวอร์ซัพพลายประสิทธิภาพสูง
อย่างที่บอกไปว่าโดยทั่วไปแล้วพาวเวอร์ซัพพลายจะจ่ายพลังงานจริงๆ ได้เพียง 65 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ เท่านั้นเอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือพาเวอร์ซัพพลาย 100 วัตต์ อาจจะจ่ายพลังงานได้เพียง 65 วัตต์ หรือ 70 วัตต์ เท่านั้น ถ้าเรานำพาเวอร์ซัพพลาย 100 วัตต์ ตัวนี้ไปต่อให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ตัวนั้นก็อาจจะทำงานไม่ได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มที่
เมื่อมีปัญหานี้เกิดขึ้นมาโดยเฉพาะในช่วงสามปีมานี้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการในการใช้พลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่พาวเวอร์ซัพพลายส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้อย่างเพียงพอ เพราะการบอกจำนวนวัตต์บนตัวพาวเวอร์ซัพพลายมันเป็นวัตต์ที่จ่ายได้สูงสุดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช้การจ่ายพลังงานได้ในแบบต่อเนื่อง
ในปี 2004 ได้มีการริเริ่มแนวความคิดเรื่องการจัดตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง 80 Plus ขึ้นมาเพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐานของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมของพาวเวอร์ซัพพลาย ไม่ว่าจะเป็นพาวเวอร์ซัพพลายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ หรือพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างก็ให้ความสนใจและเข้าร่วมกับ 80 Plus กันอย่างมากมาย
นอกจากนี้แล้วในปี 2006 Energy Star ซึ่งเป็นโครงการของหน่วยงานด้านการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมของอเมริกาก็ได้มีการเพิ่มเติมคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะได้รับการรองรับมาตรฐาน Energy Star 4.0 จะต้องใช้พาเวอร์ซัพพลายที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานของ 80 Plus ด้วย เมื่อเป็นแบบนี้จึงทำให้ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายจำนวนมากทำการผลิตพาวเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของ 80 Plus มากยิ่งขึ้น
ใบรับรองของหรือมาตรฐานของ 80 Plus เองก็มีอยู่ด้วยกันถึง 4 ระดับ ได้แก่ 80 Plus E-Star 4.0, 80 Plus Bronze, 80 Plus Silver และ 80 Plus Gold

LOAD20%50%100%
80 Plus E-Star 4.080%80%80%
80 Plus Bronze82%85%82%
80 Plus Silver85%88%85%
80 Plus Gold87%90%87%

ตารางที่ 4 มาตรฐานต่างๆ ของ 80 PLUS จะเห็นได้ว่าไม่ว่าสภาวะของโหลดจะมากน้อยขนาดไหน พาวเวอร์ซัพพลายก็ควรจะจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่องโดยมีการสูญเสียของพลังงานไม่เกิน 20%
clip_image023
รูปโลโกของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก 80 Plus
เมื่อเป็นอย่างนี้ถ้าเราไม่มีความรู้อะไรเลยอย่างน้อยๆ เราก็ควรจะเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 80 PLUS อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็คงจะเป็น 80 PLUS E-Star 4.0 อันนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะถ้าทางผู้ผลิตออกแบบให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงานได้ตามมาตรฐานของ 80 PLUS ในระดับ GOLD แล้วละก็พาวเวอร์ซัพพลายเองก็มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย และพอราคาสูงขึ้นมันก็หาคนที่มาซื้อใช้งานขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

อุปกรณ์จำนวนวัตต์ที่ใช้
Motherboard15-30
Low-end CPU20-50
Midrange to high-end CPU40-100
RAM2-3 วัตต์ ต่อ 512MB
PCI add-in card5
Low to midrange Graphics Card20-60
High-End Graphics Card60-100
Hard disk drive10-30
Optical drives10-25
Case Fan1-5

ตารางที่ 4 การใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ โดยประมาณ มีหน่วยเป็นวัตต์

จำแนกการใช้พลังงาน
บางคนอาจบอกให้คุณบวกตัวเลขวัตต์ของชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ในพีซีเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นซีพียูใช้ไฟ 87.5W เมนบอร์ดใช้ไฟ 23.5W ดังนั้นในตอนนี้คุณจึงต้องการใช้ไฟอย่างน้อย 111W ถ้าหากคุณบวกตัวเลขที่เหลือทั้งหมด คุณก็น่าจะทราบวัตต์ที่ต้องการได้แล้ว ปัญหาก็คือพาวเวอร์ซัพพลายไม่ได้ใช้ตัวจ่ายพลังงานที่เท่ากันหมดทุกช่องทาง อัตราการใช้ไฟ 87W ของซีพียูจะไม่มีความหมายใดๆ ถ้าหากคุณไม่ทราบว่าไฟ 87.5W มาจากไหน นั่นก็คือซีพียูได้ไฟมาจากชุดจ่ายไฟแบบ +5V หรือ +12V กันแน่ เพราะอย่างที่บอกไปในตอนต้นๆ ของบทความแล้วว่าเราต้องดูจำนวนวัตต์ที่ใช้ตามความสามารถของการจ่ายไฟแต่ละชุด ไม่ใช้วัตต์รวมของพาวเวอร์ซัพพลาย
ซีพียูในยุคเพนเทียมทรี และซีพียูทั้งหมดก่อนหน้านั้นใช้ไฟ +5V การที่ซีพียูเป็นตัวกินไฟมากที่สุดในพีซีแบบ x86 ดังนั้นพาวเวอร์ซัพพลายจึงต้องกระแส (Amp) ให้กับชุด +5V ในปริมาณที่มากพอ ส่วนซีพียูรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ยุคของ Intel Pentium 4 และ AMD Athlon ซีพียูเหล่านี้จะใช้พลังงานจากชุดจ่ายไฟ +12V ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ซีพียูของเรามีเสถียรภาพในการทำงาน รวมก็ควรจะไปทำการรวมอุปกรณ์ทั้งหมดว่าใช้ไฟ +12V กี่วัตต์ ใช้ +5V กี่วัตต์ +3.3V กี่วัตต์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
ในตารางที่ 5 เราได้พยายามรวบรวมข้อมูลของการใช้กระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ มาไว้ให้ดู โดยข้อมูลเหล่านี้เราพยายามเลือกค่าสูงสุดที่อุปกรณ์แต่ละตัวใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปคำนวณ อุปกรณ์บางตัวอาจจะใช้ไฟมากกว่าหนึ่งชุด อย่างเช่นกราฟิกการ์ดประสิทธิภาพสูงที่ต้องการไฟ +12V เพิ่มเติมอย่างชัดเจน แต่เราก็ไม่มีข้อมูลว่าต้องการไฟ +3.3V และ +5V เท่าไหร่ ซึ่งเวลาเราคำนวณจริงๆ เราอาจจะต้องเผื่อค่าสำหรับความไม่รู้ตรงนี้ไว้อย่างน้อยๆ 10%
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์อย่างฮาร์ดดิสก์ และออปติคอลไดร์ฟทั้งหลายถือเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะบนตัวอุปกรณ์จะบอกให้เราทราบเลยว่าใช้ไฟ +5V กี่แอมป์ ใช้ไฟ +12V ที่แอมป์ทำให้เราสามารถคำนวณตรงกับอุปกรณ์ที่เราใช้งานจริงได้ แต่สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ มีความพยายามที่จะเรียกร้องให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านั้นบอกไว้ด้วยว่าต้องการใช้ไฟขนาดกี่โวลต์กี่แอมป์ แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้รับการตอบสนอง อย่างดีก็บอกแค่ว่าใช้กับไฟกี่โวลต์ หรืออุปกรณ์ตัวนั้นๆ ใช้ไฟกี่วัตต์เท่านั้นเอง

อัตราการใช้กระแสไฟฟ้า (ค่าโดยประมาณ)
+3.3V+5V+12VDevice
n/an/a5ACPU – Low end
n/an/a10ACPU – High end
3A2A0.5AMotherboard ที่มี Sound, LAN
000.25Aพัดลมระบายความร้อน (รวมถึงพัดลมในตัวพาวเวอร์ซัพพลายด้วย)
0.5A0Memory / 512MB DDR
3An/a2AGraphics Card – Normal
n/an/a10AGraphics Card – High Performance
0.5A0.7A0PCI Sound
0.4A0.4A0PCI Network Card
00.6A0.7AHard Disk
01.2A1.2ADVD-Writer
01.5A1.5ABlue-ray Drive
00.8A0Floppy
00.5A0USB devices
00.25A0Keyboard
00.25A0Mouse
00.50PCI Modem
01.60FireWire

ตารางที่ 5 ข้อมูลการใช้พลังงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยประมาณ

ชุดจ่ายไฟ3.3V5V12V
CPU8
MAINBOARD320.5
RAM 1 GB # 11
RAM 1 GB # 21
Graphic Card10
HDD #10.60.7
HDD #20.60.7
DVD-Writer1.21.2
Mouse USB0.5
Keyboard USB0.5
FAN #10.25
FAN #20.25
FAN #30.25
รวมการใช้กระแส (Amps)37.421.85
รวมการใช้พลังงาน (Watts)9.937262.2
รวมวัตต์ทั้งหมด309.1

ตารางที่ 6 ตัวอย่างการคำนวณหาการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ค่าตัวเลขที่ใส่ในตารางคือค่าของการใช้กระแสไฟฟ้าจากชุดจ่ายไฟ +3.3V +5V และ +12V
จากตัวอย่างที่ 6 ถ้าเรานำข้อมูลมาพิจารณา เราก็ต้องไปหาซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่สามารถจ่ายไฟ +3.3 V ได้ 3 แอมป์ จ่ายไฟ +5V ได้ 7.4 A จ่ายไฟ +12V ได้ 21.85 แอมป์ แต่ในความเป็นจริงชุดจ่ายไฟ +3.3V กับ +5V นั้นจะใช้วงจรชุดเดียวกันดังนั้นคุณจะต้องดูพาวเวอร์ซัพพลายที่จ่ายไฟ +3.3V และ +5V ที่ระดับไม่น้อยกว่า 10A อย่างไรก็ดีนี่เป็นการคำนวณโดยประมาณเท่านั้น เพราะค่าการใช้กระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์บางตัวเราไม่มีข้อมูลอย่างครบถ้วน แต่อย่างน้อยมันก็พอทำให้เรามองเห็นภาพโดยประมาณว่าควรจะซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณสมบัติอย่างไร
เลือกซื้อแบบง่ายๆ
ที่บอกมาทั้งหมดนั้นมันอาจจะดูเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าจะใช้เวลาอันสันในการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามมันก็มีวิธีเลือกซื้อในทางปฏิบัติมาแนะนำบ้างอยู่เหมือนกัน
1. พาวเวอร์ซัพพลายที่ซื้อควรจะเป็นมาตรฐาน ATX 2.x
2. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับเมนบอร์ดแบบ 24 pin หรือแบบ 20+4 pin
3. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ 4 pin อย่างน้อย 1 เส้น หรือถ้าคอมพิวเตอร์เราเป็นแบบประสิทธิภาพสูงเช่นต้องการใช้กับซีพียูแบบ Quad-Core ก็ให้เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มี AUX 12 โวลต์แบบ 8 pin หรือถ้าจะให้ดีมันมีพาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ แบบ 4+4 ให้ใช้ ก็น่าสนใจ หมายถึงเป็นแบบ 4 pin สองตัวประกบกันเป็น 8 pin และแยกกันได้เมื่อต้องการใช้แบบ 4 pin
4. ควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์หรือออปติคอลไดร์ฟแบบ SATA อย่างน้อย 4 ชุด ถ้ามากกว่าได้ก็ยิ่งดี
5. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดพลังสูงก็มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ที่เรียกว่า PCI-E ซึ่งจะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ 6 pin อย่างน้อยหนึ่งเส้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ดูรุ่นที่มันมี PCI-E 6 pin อย่างน้อยสักสองเส้นจะดีที่สุด
6. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดแบบ SLI หรือแบบ CrossFire ก็ให้มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีโลโก้ประเภท SLI Ready หรือ CrossFire Ready เอาไว้ได้เลย เพราะกราฟิกการ์ดพวกนี้จะต้องใช้พลังงานที่สูง
7. เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้าย โดยคุณควรจะทำการดูคู่มือของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นก่อนว่าต้องการแรงดันไฟแต่ละแบบเป็นอย่าไร แล้วลองใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่างตารางที่ 6 หรือถ้าขี้เกียจจริงๆ ก็ให้ลองสำรวจดูว่าคู่มือที่เราอ่านมานั้นมีอุปกรณ์ตัวไหนที่บอกว่าต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์ เท่าที่ลองใช้วิธีนี้ เราพบว่ากราฟิกการ์ดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเลือกพาวเวอร์ซัพลายได้ดีที่สุด เพราะในคู่มือของกราฟิกการ์ดจะบอกเลยว่าควรจะใช้กับพาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์

หรือ อยากได้ความรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก
http://www.playtool.com/pages/psuconnectors/connectors.html


การตรวจซ่อมเบื้องต้นของเพาเวอร์ซัพพลาย

เปิดแล้ว พัดลมไม่หมุนแต่เครื่องติด
   หากอาการแบบนี้ให้คุณทราบไว้เลยว่า พัดลมระบายความร้อนในพาวเวอร์ซัพพลายของคุณนั้นมันเกิดอาการเสียซะแล้ว อาจเป็นเพราะเกิดการฝืดเนื่องจากมีฝุ่น หรือหยากไย่เข้าไปค้างอยู่ หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้ พาวเวอร์ซัพพลายของคุณพังได้ วิธีแก้ก็คือให้คุณ ตัดเอาพัดลมพร้อมสายไฟออกแล้วเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (แถวบ้านหม้อก็ได้) แล้วยื่นพัดลมให้คนขายดูเขาก็จะหยิบตัวใหม่ที่เหมือนกันเปี๊ยบมาให้คุณ คุณก็เอากลับไปต่อกับตัวพาวเวอร์ได้เหมือนเดิม แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ราคาพัดลมกับพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหม่นั้นมีราคาใกล้เคียงกันมากทีเดียว แต่ลองหัดซ่อมดูก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ
เปิดแล้วเครื่องไม่ติดพัดลมไม่หมุน
   หากเกิดอาการอย่างนี้อย่าเพิ่งสรุปนะครับว่า พาวเวอร์ซัพพลายของคุณเสีย เพราะอย่างที่บอกไว้ในหัวข้อข้างต้นก็คือ Power supply แบบ Switching นั้น สามารถที่จะตัดกระแสไฟได้ถ้าหากมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากตัวมันไปชำรุด ดังนั้นวิธีเช็กก็คือให้คุณถอดอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดออกมาก่อนแล้วเปิดดู หากพัดลมติด และใช้มัลติมิเตอร์วัดดู ถ้าเข็มแสดงว่ามีไฟเลี้ยงเข้าแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของคุณนั้นเกิดอาการชำรุดหรือช็อต วิธีทดสอบก็คือให้เสียบไฟโหลดนั้นทีละตัว แล้วเปิดดูหากอุปกรณ์ชิ้นไหนชำรุดพาวเวอร์ซัพพลายก็จะไม่หมุน (ตัวอย่างที่พบกันบ่อยๆ ก็คือคุณประกอบเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส โดยที่ไม่ได้ใช้แผ่นโฟมหรือขาพลาสติกรอง ทำให้ลายวงจรของเมนบอร์ด เกิดการสัมผัสกับตัวเคสที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้น ดังนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ให้คุณรีบปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายโดยเร็ว และใช้แผ่นโฟมหรือแหวนรองน็อต ใส่ก่อนทุกครั้งที่ประกอบเครื่องลงเคส ไม่งั้นคุณอาจต้องน้ำตาร่วงเพราะเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่)
<><><>  
      สำหรับในกรณีแรกให้คุณลองหาสายไฟมาเปลี่ยนดู แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สอง ก็เปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายใหม่เถอะครับ ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมเพราะมันไม่คุ้ม อ้อ ก่อนการลงมือซ่อมพาวเวอร์ซัพพลายทุกครั้งอย่าลืมว่าต้องใส่รองเท้าหนาๆ ด้วยนะครับ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตัวคุณเอง
      
การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
         ดำ + ดำ = 0 V
         ดำ + แดง = 5 V
         ดำ + ขาว = -5 V
         ดำ + น้ำเงิน = -12 V
         ดำ + ส้ม = 5 V
         ดำ + เหลือง = 3.3 V
         ดำ + น้ำตาล = 12 V
      
         * เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -
      
         *AC=220 V (L กับ N)
         L1 380 Vac
         L2 380 Vac
         L3 380 Vac
         N Nutron , G ไม่มีไฟ
         *230W (23A) - 300W (30A)
         โดย W=V*I
         
<><><>    <><><>      <><><>        <><><>   <><><>    <><><>        <><><>   
            
            วิธีวัดพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้ามีเข็มขึ้น
            แสดงว่าพาวเวอร์ซัพพลายของคุณปกติ

   สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่ฟิวส์ที่อยู่ภาพในตัวพาวเวอร์ซัพพลายเองขาด วิธีดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ก็ให้ดูด้วยตาเปล่า หรือถ้ามีเขม่าจบในฟิวส์มากๆ ก็ให้ถอดฟิวส์ออกมาวัดโดยวัดจากค่าความต้านทานในฟิวส์ ตรงนี้คุณต้องถอดออกมาจากวงจรนะครับ ถึงจะวัดได้ ถ้าไม่มีความต้านทานขั้นก็แสดงว่าฟิวส์ขาด แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด แล้วยังไม่มีไฟเข้าที่พาวเวอร์ซัพพลายอีก สาเหตุน่าจะมาจาก สายไฟที่คุณใช้ต่อไฟกระแสสลับเข้าสู่ไฟบ้านมีอาการชำรุด ขาดใน หรือแผงวงจรร หรือ อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งของพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหาย
   >>>รายละเอียดเพิ่มเติม   Sanambin.com
   Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป

   Power Supply มี 2 แบบ
   แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
   แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
          2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
          2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case (ราคาประมาณ 450 บาท)
          2.3 แบบ ATX แบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)
   * ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้